กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิงแวดล้อม สำนักการบินอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนปฏิบัติการบิน บิน การบิน ส่วนบิน ปีกหมุน ปีก ฮอ บิน บนฟ้า ฝูงบิน นก เหยี่ยว โชว์บิน การบิน เฮลิคอปเตอร์
   
  ส่วนปฎิบัติการบิน
  มารู้จักเฮลิคอปเตอร์
 

 
ส่วนประกอบที่สำคัญของเครื่องเฮลิคอปเตอร์
 
 
Main rotor - ใบพัดหลัก
Drive shaft - แกนหมุน
Cockpit - ห้องนักบิน
Landing skids- ฐานจอด
Tail boom- หางเครื่องยนต์
Tail rotor - ใบพัดหางเสือ
Engine, transmission,
fuel -ห้องเครื่อง ถังน้ำมัน

 
 เครื่องเฮลิคอปเตอร์  เป็นอากาศยานที่ยกตัวขึ้นด้วยใบพัดเดี่ยวหรือมากกว่าในแนวราบถูกจัดเป็นประเภทอากาศยานปีกหมุน  (Rotary-wing aircraft)  เพื่อแยกออกจากอากาศยานปีกตรึงทั่วไป (fixed-wing aircraft)  คำว่าเฮลิคอปเตอร์มาจากภาษากรีก helix  (เกลียว) และคำว่า pteron (ปีก) เครื่องยนต์คิดค้นโดยนักประดิษฐ์ชาวสโลวัค Jan Bahyl แต่ผู้คิดค้นให้เครื่องเสถียรสามารถใช้งานได้
คือชาวรัสเซีย Igor Sikorsky

        เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องบินทั่วไป เครื่องเฮลิคอปเตอร์มีความซับซ้อนราคาแพงกว่าทั้งการจัดหาและการใช้งาน บินค่อนข้างช้า ระยะบินสั้น
มีข้อจำกัดด้านการบรรทุก ส่วนที่มาชดเชยคือความคล่องตัวในการเคลื่อนย้าย ซึ่งสามารถบินอยู่กับที่ ขึ้นลงได้ในแนวดิ่ง มีข้อจำกัดเพียงความสะดวกในการ
เติมเชื้อเพลิงและน้ำหนักบรรทุก เครื่องเฮลิคอปเตอร์สามารถไปได้ทุกพื้นที่มีขนาดพอเพียงกับรัศมีปีกหมุนรวมกับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางครึ่งหนึ่งของปีกหมุน
   
การนำร่อง  (NAVIGATION)

การหาทางไปจากที่หนึ่งถึงอีกที่หนึ่งเรียกว่า  NAVIGATION  การนำเครื่องบินจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการเดินทางการเขียนแนวเส้นทางลงในกระดาษหรือบนแผนที่ไปยังที่ที่กำหนดซึ่งในอดีตเป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญ  เช่น  Navigator  งานนี้ค่อนข้างจะสลับซับซ้อนและไม่ค่อยจะเที่ยงตรงต้องอาศัยการสังเกตและต้องใช้แผนที่เครื่องมือการเดินทางและเครื่องคิดเลขทุกวันนี้การนำร่องทางอากาศเป็นศิลปะที่เกือบจะสมบูรณ์ เครื่องช่วยนำร่องทั้งภายนอกและระบบที่อยู่บนเครื่องบินช่วยนำร่องเครื่องบินไปเป็นระยะทางพันพันไมล์อย่างเที่ยงตรงซึ่งมันเป็นความฝัน  เมื่อ 20-30  ปี  ที่ผ่านมา

   
วิธีการนำร่อง(The Method of Navigation)   สามแบบ หลัก ของ การ นำร่อง ทาง อากาศ ได้แก่ :.
Pilotage , 2. Dead Reckoning , 3. Radio
1. Pilotage หรือ Piloting   เป็นวิธีทั่วๆไปสำหรับการนำร่องอากาศยานวิธีนี้นักบินรักษาแนวการบิน  หรือ  ทิศทาง การบินโดยการตามแนวสังเกตจุดต่างๆบนพื้นดิน  โดยปกติก่อนทำการบินจะเตรียมการก่อนการบินหรือวางแผน ก่อน การบินนักบินจะลากเส้นบนแผนที่การบินเพื่อวางเส้นทางการบิน   นักบินจะสังเกตุจุดสังเกตุต่างๆบนพื้นดินเช่นทางหลวงทางรถไฟแม่น้ำสะพานต่างๆเมื่อนักบินบินผ่านจุดสังเกตต่างๆ  นักบินก็จะขีดบนแผนที่ถ้าเครื่องบินไม่บินผ่านจุดสังเกตุที่กำหนดบนแผนที่นักบินก็จะทราบทันทีและต้องทำการแก้ไข
2. Dead Reckoning   เป็นระบบนำร่องที่สำคัญที่ใช้ตอนแรกๆของการบิน   มันเป็นวิธีที่ Lindberg ใช้ในการบินข้าม มหาสมุทรATLANTICครั้งแรก  นักบินใช้วิธีนี้เมื่อบินข้ามพื้นน้ำอันกว้างใหญ่หรือทะเลทราย   วิธีนี้จำเป็นต้องใช้ความสามารถและประสบการณ์มากกว่าแบบ PILOTAGE   วิธีนี้อาศัยเวลาระยะทางทิศทางที่จะไป   นักบินต้องรู้ระยะทางจากจุดหนึ่งไปถึงอีกจุดหนึ่งและมุมที่จะไป   นักบินจะศึกษาจากแผนที่ที่เตรียมก่อนการบิน   นักบินวางแผนเส้นทางบินล่วงหน้าแล้วนักบินจะคำนวณเวลาที่แน่นอนว่าจะใช้เวลาเท่าไรที่จะไปถึงจุดที่กำหนด   ขณะที่บินด้วยความเร็วสม่ำเสมอในอากาศ   นักบินใช้ เข็มทิศในการรักษาทิศทางการบิน  การบินโดยวิธี Dead reckoning นี้ไม่ใช่วิธีที่ประสบความสำเร็จทุกครั้งของการนำร่องทางอากาศ   เพราะว่าการเปลี่ยนทิศทางของลมมันเป็นพื้นฐานของการบินแบบ  VF
3. Radio Navigation  เป็นวิธีที่ใช้โดยนักบินเกือบทุกคนนักบินสามารถตรวจสอบจากแผนที่ทางอากาศ  ว่าสถานีส่งสัญญาณวิทยุที่นักบินจะ ปรับคลื่นเพื่อรับความถี่นั้น   จากสถานีเข็มหน้าปัดที่เครื่องรับสัญญาณก็จะบอกนักบินว่าขณะนี้กำลังบินไปในทิศทางใด   นักบินมีเครื่องช่วยการนำร่องหลายชนิดที่ช่วยในการบินขึ้นและการลงจอดอย่างปลอดภัย  เครื่องช่วยนำร่องที่สำคัญระบบต่อเนื่องของการควบคุมการจราจรทางอากาศและการดำเนินการทั่วโลกการควบคุมการจราจรทางอากาศทั่วไป   จะใช้จอเรดาร์เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องบินทั้งหลายที่อยู่ในบริเวณที่กำลังบินอยู่ตามแนวที่อนุญาตให้บิน  เครื่องบินโดยสารจะมีเรดาร์พิเศษที่สามารถรับและส่ง    ซึ่งเรียกว่า TRANSPONDER มันจะรับสัญญาณเรดาร์จากหน่วยควบคุมกลาง   และสะท้อนกลับเมื่อสัญญาณกลับถึงสถานีมันก็จะแสดงภาพของเครื่องบินให้ เห็นบนจอ เรดาร์  นักบินมีวิธีการพิเศษในการนำร่องข้ามทะเล   มีอยู่  3  วิธีคือ
1. Inertial Guidanceระบบนี้จะมี computer และอุปกรณ์พิเศษอื่นที่จะบอกนักบินว่าขณะนี้ตำแหน่งของเครื่องบินอยู่ ณ ตำแหน่งใด
2.  LORAN Long Range Navigation เครื่องบินจะมีอุปกรณ์สำหรับรับสัญญาณวิทยุที่ส่งจากสถานีส่งสัญญาณ ตลอดเวลาสัญญาณจะชี้ให้เห็นว่าเครื่องบินขณะนั้นอยู่ ณ ตำแหน่งใด
3. GPS Global Positioning System. เป็นระบบเดียวในขณะนี้ที่บ่งบอกตำแหน่งได้แม่นยำบนพื้นโลก   ทุกเวลาทุกแห่งหนและในทุกสภาพอากาศ   เครื่องรับบนเครื่องบินจะรับสัญญาณจากดาวเทียมที่โคจรรอบโลก
   
คำน่ารู้ (TERMINOLOGIES)
ADF Automatic Direction Finder. วิทยุนำทางอากาศยานที่จับและบอกทิศทางที่ความถี่ต่ำถึงช่วงกลางกับตัวส่งสัญญาณภาคพื้นดิน
DME Distance Measuring Equipment. อุปกรณ์ภาคพื้นและอากาศยานให้ข้อมูลระยะทางและเป็นระบบปฏิบัติการจำเป็นอย่างแรกในการนำทางเส้นทางบินหรือพื้นที่เป้าหมาย
EAT Estimated Approach Time ประมาณเวลาถึงที่หมาย
EFIS Electronic Flight Instrument System , ระบบเครื่องมือการบินอิเล็กทรอนิกส์ที่แสดงหน้าที่หลายอย่างบนจอภาพ ที่ใช้แทนเครื่องมือแสดงข้อมูลการบินแบบเก่า  ซึ่งเป็นแบบเกย์วัด  in which multi-function CRT displays replace traditional instruments for providing flight, navigation and aircraft system information, forming a so-called " glass cockpit ".
ETA Estimated Time of Arrival เวลาประมาณถึงที่หมาย
Glass Cockpit จอภาพแสดงข้อมูลทางการบิน
GPS Global Positioning System .ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกโดยการรับการถ่ายทอดสัญญาณจากดาวเทียมที่ดูแลและจัดการโดยสหรัฐอเมริกา และมีใช้กับการบินพลเรือน
HDG Heading. ทิศทางที่หัวเครื่องบินชี้ในแนวราบ ตามแนวเข็มทิศ เช่น 000 หรือ 360 เหนือ, 090 ตะวันออก
HSI Horizontal Situation Indicator. ตัวชี้ตำแหน่งในแนวราบ แสดงบนจอภาพโดยปกติเป็นระบบควบคุมการบินที่รวมการนำทางและทิศทางเข้าด้วยกัน (navigation and heading)
IFR Instrument Flight Rule . กฎการบิน กำหนดการปฏิบัติของอากาศยานตามสภาพอากาศprescribed for the operation of aircraft in instrument meteorological condition.
ILS Instrument Landing System . ระบบนำร่องเป็นการส่งสัญญาณวิทยุในพื้นที่เพื่อช่วยบอกตำแหน่งทั้งในแนวดิ่งและแนวราบของอากาศยาน
INS Inertial Navigation System.หรือ IRS Inertial Reference system 
ระบบตรวจวัดการเพิ่ม-ลดความเร็วอากาศยาน และคำนวณตำแหน่งทางละติจูดและลองติจูด ซึ่งมีความแม่นยำแต่ประสิทธิภาพลดลงเมื่อบินระยะไกล
KNOT (kt) หน่วยมาตรฐานวัดความเร็วทางอากาศและทางทะเลมีค่าเท่ากับ 1 ไมล์ทะเลต่อชั่วโมง คือ 1.1515 ไมล์
LORAN C Long Range Navigation ความถี่วิทยุช่วงคลื่นต่ำ ระหว่าง 1,200 นาโนเมตรตอนกลางวันและ 2,300 นาโนเมตรตอนกลางคืน
MAGNETIC COURSE สนามแม่เหล็กตามแนวราบวัดตามเข็มนาฬิกาจากสนามแม่เหล็กเหนือ
MACH NUMBER อัตราส่วนความเร็วอากาศยานเทียบกับความเร็วเสียง ความเร็ว 1 Mach ที่ระดับน้ำทะเลมีค่าประมาณ 760 ไมล์/ชั่วโมง
NDB Non-Directional Beacon. คลื่นความถี่ขนาดกลางช่วยการนำร่อง กระจายสัญญาณแบบไม่มีทิศทาง ควบคู่ไปกับตัวอ่านสัญญาณมอส เข้าเครื่องรับสัญญาณที่อากาศยาน
RMI Radio Magnetic Indicator. เครื่องช่วยนำร่องวัดคลื่นวิทยุแม่เหล็ก จะแสดงตำแหน่งทิศทางกับที่หมาย
RNAV Area Navigation. ระบบวิทยุนำร่อง จากจุดถึงจุด
TACAN Tactical Air Navigation. ระบบนำร่องทางอากาศโดยการรวมเอาการส่งสัญญาณวิทยุและเครื่องมือวัดระยะทางเข้าด้วยกัน ใช้เฉพาะการทหารสหรัฐ ระบบจะใช้ความถี่ UHF หาข้อมูลระยะทางและทิศทางจากสถานีภาคพื้น
TCAS Traffic Alert and Collision Avoidance System. ระบบเตือนการจราจรและหลีกเลี่ยงการชน เป็นระบบเรดาห์แยกต่างหากจากอุปกรณ์ TCAS-I จะให้คำแนะนำด้านการจราจรเท่านั้น ส่วน TCAS-II จะให้คำแนะนำและบอกให้หลีกเลี่ยงการชนของเครื่องบินแต่ละระดับชั้นความสูง
Tachometer (Hour Meter) เครื่องวัดความเร็วรอบ/นาที
TRANSPONDER เครื่องรับและส่งสัญญาณทางอากาศ ซึ่งรับสัญญาณถามจากภาคพื้นและตอบกลับดัวยรหัสที่ตั้งไว้ แบบ A และ B ใช้สำหรับการจำแนก มีตัวเลข 4 ตัวซึ่งจัดโดยการควบคุมทางอากาศ แบบ C จะบอกระยะความสูงอ่านโดยเครื่องแปลงรหัสอ่านความสูง
VFR Visual Flight Rules. กฎการบินโดยการมองเห็น ใช้กับการดูจากสภาพอากาศ
VHF Very High Frequency. วิทยุความถี่สูง ช่วง 30-300 Mhz ใช้มากกับการบินพลเรือนกับการติดต่อสื่อสารภาคพื้น
VOR Very High Frequency Omni directional Range. วิทยุช่วยนำร่องความถี่สูงกระจายทุกทิศทางในช่วง 108-118 Mhz สถานีภาคพื้นกระจายสัญญาณสองช่วง360องศา ตัวรับสัญญาณที่อากาศยานช่วยให้นักบินชี้จุดแนวรัศมีจากภาคพื้น  ซึ่งเป็นอุปกรณ์ทั่วไปใช้ในการบินพลเรือน
VORTAC ระบบนำร่องทางอากาศโดยการรวมเอาการส่งสัญญาณวิทยุและเครื่องมือวัดระยะทางเข้าด้วยกัน ใช้เฉพาะการทหารสหรัฐระบบจะใช้ความถี่ UHF หาข้อมูลระยะทางและทิศทางจากสถานีภาคพื้น
XC (cross country flying) เป็นการบินเดินทางระหว่างจุดหนึ่งถึงที่หมาย





 
   
   
 
 








 
   
 

สำนักการบินอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
92 ถนนพหลโยธิน 7 สามเสนใน
พญาไท กรุงเทพฯ 10400
ส่วนปฏิบัติการบิน โทร 0-2265-6188
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free